ความเป็นมา

บ้านศิลป์สยาม

เเนวคิดในการจัดสร้าง

ศิลป์สยาม แบรนด์ไทย ประเภทงานหัตถกรรม และงานหัตถศิลป์ไทย ที่เกี่ยวเนื่องกับรามเกียรติ์

หัวโขน อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ไทยที่เป็น มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามที่ ยูเนสโก จดบันทึก เมื่อ 29. พ.ย.2561

บ้านศิลป์สยาม เกาะเกร็ด ทำบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเล่าขานเรื่องราวเกี่ยวกับ “รามเกียรติ์” ด้วยฉากหนุมานใหญ่เท่าบ้าน 2 ชั้น เป็นภาพรามเกียรติ์ ตอน “หนุมานอมพลับพลา” ที่ตัวเองชอบเป็นการส่วนตัว ฉาก ๕๓ ของจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระแก้ว เพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างจิตสำนึก และสร้างที่เป็นศิลปะของชาติ. บ้านศิลป์สยาม จึงแบ่งเป็นเรื่องราว ดังนี้

ด้านล่างของบ้าน เนรมิตเป็น “ถ้ำ”

โดยนักท่องเที่ยวจะต้องผจญภัยเองที่เป็นเรื่องการต่อสู้ ระหว่าง “หนุมาน สู้รบกับทศกัณฐ์” เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสตัวละครของเรื่องอย่างใกล้ชิด

ความสัมพันธ์ไทย-มอญ

โดยมีพระมหารามัญเจดีย์ รูปทรงมุเตาเอียง สัญลักษณ์ประจำวัดปรมัยยิกาวาส กับเล่าขานตำนาน “โขน”สมัยพระเจ้าตากสิน ที่มีเจ้าพระยาราม นิยมชมชอบศิลปะชั้นสูงที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย

ผ้าไทย

ที่สื่อถึง “ผ้าไทย” เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น การแต่งกายในสมัยก่อนได้จากวรรณคดี จิตรกรรมฝาผนัง และมรดกศิลปะที่คงเหลืออยู่ในบางท้องถิ่น แต่บ้านศิลป์สยาม นำเรื่องราวของ “ชุดโขน” ด้วยการปักชุดโขน ละคร มาแต่งกับหุ่น เพื่อโชว์ให้นักท่องเที่ยวได้เห็นคุณค่าของ “ผ้าไทย”

ทะยานเหนือเมฆ

บนหน้าผามี ๑๘ มงกุฎ วานร ชื่อ “นิลราช” คอยต้อนรับ และ ดูต้นทาง เพื่อให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปต่อสู้ โดย “การงัดข้อ” กับทศกัณฐ์ หลังจาก ทศกัณฐ์ แพ้แล้ว พระราม ก็ให้หนุมาน ครองเมืองชื่อ “นพบุรี”จะสังเกตยอดหนุมานเป็นยอดปัด “ครองเมือง” กับอุปกรณ์ประกอบการแสดง

ฝั่งด้านขวาจะเห็น”หนุมาน”

ทำท่าทางฮึกเหิม ลำพองใจ ด้วยความคึกคะนอง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินมาดูการต่อสู้กับทศกัณฐ์ จะเห็นกระจกดำที่มีเงาการต่อสู้ระหว่างหนุมาน กับ ทศกัณฐ์ เป็น กระจก ๓ มิติ นั้นเอง

การนำชุดโขนละคร

มีประดับประดาที่มีความเก่าแก่ของครูช่างโบราณที่ปักไว้ใช้งาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงความปราณีตในการปักชุด ของนักแสดง “โขน” ที่ทำให้การแสดงโขนเป็นเอกลักษณ์ของชาติคือ “ชุดโขน” เป็นศิลปะชั่นสูงอีกหนึ่งแขนงที่ต้องอนุรักษ์ไว้ เพราะการเเสดงโขนเป็นการเเสดงประจําชาติของไทย  มีต้นกําเนิดมาตั้งเเต่สมัยอยุธยา

 “ห้องหุ่น”

ขั้นตอนการทำหัวโขน เป็นงานศิลปะชั้นสูง ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะ ปิดบังส่วนหน้าของผู้แสดงโขนอย่างมิดชิด เป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ และงานศิลปะที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างวิจิตรตระการตาเช่นเดียวกับเครื่องแต่งกาย ประณีตบรรจงตามแบบช่างมีรูปลักษณะสวยงาม ลักษณะคล้ายหน้ากาก แตกต่างตรงที่เป็นการสร้างจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะทั้งหมด เจาะช่องเป็นรูกลมที่นัตย์ตาของหัวโขน ให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดงเพื่อการมองเห็น ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือหัวโขนสำหรับใช้ในการแสดง หมายความถึงหัวโขนที่สื่อถึงตัวละครนั้น ๆ เช่น พระ ยักษ์ เทวดา วานรและสัตว์ต่าง ๆ สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ตามเอกลักษณ์ของหัวโขนที่ถูกต้อง และสมบูรณ์แบบของศิลปะไทยและหัวโขนที่ใช้สำหรับเป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึก หมายความถึงหัวโขนที่ทำขึ้นโดยการหล่อ ปั่น ฉีดและขึ้นรูปด้วยพลาสติกหรือกรรมวิธีอื่น ๆ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอย

“ไทยโทน”

ใช้หน้ากากแสดงถึง ผู้คนมีหลายลักษณะ ด้วยเฉดสีไทยโบราณ (ไทยโทน) ซึ่งแท้จริงแล้ว สีไทยโทน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อน เห็นได้จากงานจิตรกรรมของไทยที่มีสีสันที่สวยงาม แม้ผ่านเวลามานับร้อยปี สีของภาพจิตรกรรมบนฝาผนังก็ยังคงความงดงามไม่เสื่อมคาย
สีไทยโทน เกิดจากเรื่องราวที่ถูกบันทึกลงในวรรณกรรม บทประพันธ์ วัฒนธรรม และความเชื่อในสมัยก่อน รวมถึงภูมิปัญญาช่างศิลป์ของไทยที่สรรหาสีจากธรรมชาติ นำมา สกัด คัดแยกสี และบรรจงผสมกันเพื่อให้ได้สีที่มีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ในอดีตนั้นกลุ่มสีของไทยที่ปรากฎในงานจิตรกรรมมีแม่สี ถึง ๕ สี รวมเรียกหมู่สีนี้ว่า “กลุ่มสีเบญจรงค์” 
ประกอบไปด้วย สีดำ สีขาว สีแดง สีเหลืองและสีคราม แต่ละสีสามารถ นำมาผสมให้ได้สีสันที่สวยงามได้เพิ่มขึ้นอีก ๑๐ สี ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ตามงานศิลปะแบบไทย เช่น งานภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานศิลป์ของช่างสิบหมู่

“ชาวพุทธ”

 สิ่งหนึ่งที่ชาวต่างชาติไม่เคยรู้ หรือเด็กไทยบางคนไม่รู้เลยว่าตนมี “พระประจำวัน” และประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้ นอกจากพระประธานที่พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้บูชาแล้ว ในแต่ละวัดยังจัดพระพุทธรูปประจำวันเกิด ให้ผู้คนได้ไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเองอันสูงยิ่งอีกประการหนึ่ง ที่ต้องเคารพบูชา และการแสดงเทศนาธรรมด้วย “ตาลปัตร” ที่เห็นเป็นขยะของวัด ที่นำมา จัดกิจกรรม เพื่อฟื้นคืนชีวิต ด้วยการวาดภาพธรรมะกับตาลปัตร และส่งมอบให้วัดเพื่อใช้ในการเทศนาธรรมต่อไป

“ไมค์โบราณ”

สื่อถึงเพลงลูกทุ่ง ที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง และ “ยันต์ไทย”การสักยันต์นั้น มีเรื่องราวที่ถูกบันทึกและสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีเหตุมาจากความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค สร้างความศรัทธาเลื่อมใส เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเป็นสัญลักษณ์ของเผ่าต่างๆ

เส้นทางแห่งทรัพย์ เล่าเรื่องราวงาน “ประดับมุก”

มุมนี้จะต้องเชิดชูครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี ๒๕๕๒ ที่ทาง ศศป (ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ)ได้จดบันทึกไว้ และทางจังหวัดนนทบุรีได้จดบันทึกเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดนนทบุรี ประจำปี ๒๕๖๐ คือ ครูเสน่ห์ แจ่มจิรารักษ์ (เสียชีวิต) ในอดีต ครูเสน่ห์ เป็นผู้สอนงานช่างประดับมุม ในช่างฝีมือในวัง ที่นายฑามก์ สิปปฺสยาม ได้ฝึกหัดงานประดับมุก จากช่างฝีมือในวังอีกด้วย

งานช่างประดับมุก

จัดเป็นงานประณีตศิลป หรือ งานมัณฑนาศิลปะประเภทหนึ่ง ที่ทำสำเร็จขึ้นด้วยกระบวนการช่างประดับมุก ซึ่งเรียกตามๆ กันมาว่า “เครื่องประดับมุก” หรือ “เครื่องมุก” ที่ทำขึ้นด้วยเปลือกหอยทะเลชนิดหนึ่ง เรียกกันตามภาษาช่างว่า “หอยมุก” นำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นย่อย แล้วโกรกทำให้เป็นลวดลายแบบต่างๆ นำมาประดับ ติดลงบนพื้นผิวภายนอกของ “ศิลปภัณฑ์” อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อตกแต่ง “ศิลปภัณฑ์” นั้นให้เกิดมีศิลปลักษณะ งามพร้อมไปด้วยกระบวนลวดลายแบบต่างๆ และ สีสันของผิวชิ้นหอยมุกที่ได้รับการประดับตกแต่งขึ้นไว้นั้น

“หลุมขุมทรัพย์”

มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในถ้ำตั้งแต่ยุคหินเก่า เพื่อให้เป็นที่หลบภัยธรรมชาติ และภัยจากสัตว์ร้าย “ถ้ำ” กับหุ่นของเด็กชายยืน “ยิ้ม” อย่างมีนัยยะ และ “มือ” ที่โดนโซ่ลามไว้ติดกับขอนไม้ และใกล้ๆ มีหลุม ๒ หลุมมันคืออะไร
“ถ้ำ” คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในทัศนะของผม สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ ก็คือทุกคำสั่งสอนนั้นมีเป้าหมาย มีวิทยปัญญา มีความลึกซึ้ง ไม่มีคำสั่งสอนใดที่ให้มนุษย์ปฏิบัติอย่างผิวเผิน โดยไม่มีนัยยะที่ลึกซึ้งกว่าหรือไม่มีนัยยะที่เร้นลับ เป้าหมายของการเรียนรู้ในวจนะข้างต้น คือ “คุณค่าของความเป็น มนุษย์”
คุณค่าของความเป็น“มนุษย์”ที่เกิดจนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของ “มนุษย์” สิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกันคือ …’”โอกาส”…โอกาสที่เลือกเกิดไม่ได้ แต่ทุกคนเลือกที่จะปฏิบัติตนให้สมที่มีคุณค่าความเป็นมนุษย์…ท้ายสุดอยากบอกว่า ทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน เท่ากัน

“ถ้ำ” คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในทัศนะของผม

สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ ก็คือทุกคำสั่งสอนนั้นมีเป้าหมาย มีวิทยปัญญา มีความลึกซึ้ง ไม่มีคำสั่งสอนใดที่ให้มนุษย์ปฏิบัติอย่างผิวเผิน โดยไม่มีนัยยะที่ลึกซึ้งกว่าหรือไม่มีนัยยะที่เร้นลับ เป้าหมายของการเรียนรู้ในวจนะข้างต้น คือ “คุณค่าของความเป็น มนุษย์”
คุณค่าของความเป็น“มนุษย์”ที่เกิดจนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของ “มนุษย์” สิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกันคือ …’”โอกาส”…โอกาสที่เลือกเกิดไม่ได้ แต่ทุกคนเลือกที่จะปฏิบัติตนให้สมที่มีคุณค่าความเป็นมนุษย์…ท้ายสุดอยากบอกว่า ทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน เท่ากัน ส่วนที่ห่อหุ้ม เกียรติยศ ชื่อเสียง เงินที่มี เป็นเพียงองค์ประกอบที่เกิดจากโอกาสเท่านั้น ..สุดท้ายของชีวิติทุกคนก็ต้องคืนองค์ประกอบทั้งหมด รวมทั้งร่างกายไว้บนแผ่นดินหมด เอาไปได้อย่างเดียวคือ “ความดี”

“พ่อหลวงของแผ่นดิน”

กับ “มุมพอเพียง” คำว่า พอเพียง หมายถึง พอดี พอมี พอใช้ และการรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ ประชาชนชาวไทยเริ่มรู้จักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๗โดยผู้ที่ทรงริเริ่มในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนชาวไทยได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต
และวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของ”พ่อหลวง” พระองค์ไม่อยู่แล้ว บ้านศิลป์สยาม จึงนำบรรยายตอนเป็นอาสาสมัครสร้างพระเมรุมาศ มาจัดแสดง เพื่อเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ได้ถวายงานและระลึกถึงคำสอนของพระองค์ ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้ถวายงานชิ้นสุดท้าย เพื่อระบุว่า “ข้าเกิดในรัชกาลที่ ๙”

“แม่”

ที่สื่อด้วยภาพจากกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ของ “ธรรมะกับตาลปัตร” ที่แสดงถึงความรัก ระหว่างแม่และลูก เพราะลูก ทำให้แม่ได้พบรักแท้ที่ยิ่งใหญ่ … ความรู้สึกทั้งหมดที่กลั่นออกมาจากใจของคุณแม่ทุกคน
ได้มองเห็นความรักของแม่ที่มีต่อลูกมากมายหลากหลายรูปแบบ มีทั้งรักแท้และรักแบบหวังผลตอบแทน … แต่ส่วนใหญ่ ความรักที่พบมากที่สุดก็คือ “ความรักที่มีแต่การเสียสละ”
“แม่”ความรักที่มั่นคงและรอคอยมาตลอดชีวิตนั้นเป็นอย่างไร และไม่ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นเช่นไร อย่างน้อยก็ขอให้เป็นคนดีที่สุด…ตลอดไป

ระหว่างทางเดินออกจาก“ถ้ำ”

จะเห็น ตู้รับบริจาคเพื่อการอนุรักษ์วอนให้เกิดความเมตตา เพื่อบำรุงรักษา อนุรักษ์งานศิลป์ของแผ่นดิน เป็นสิ้นน้ำใจให้คนสร้างงานเกิดกำลังใจ ด้วยมุมกระจกบานใหญ่ ก็นึกถึง “กระจกส่องใจ” จงใช้กระจกเงานั้นสะท้อนแต่ภาพความจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ว่าตัวเราเป็นใครและทำอะไรอยู่
เพราะผลสุดท้ายแล้ว…..กระจกเงานั้นแหละจะเป็นกุญแจไขความลับตัวตนที่แท้จริงของเราว่า
เพราะเราคือกระจกสะท้อนตัวตนให้แก่กันและกัน
เราจะค้นหา มองเห็น ชื่นชม สิ่งดีๆที่คนมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ความหวัง ความฝัน คุณงาม ความดี.
เมื่อคุณมองดูกระจกครั้งต่อไป….คุณมองเห็นสิ่งใด
และเมื่อคุณเป็นกระจกคุณจะสะท้อนภาพใด

“ลานสานศิลป์”

ด้วยความใจดี ใจสมบูรณ์ ในการแบ่งปัน เพื่อคนพิการมาทำกิจกรรมปีละครั้ง ณ ลานสานศิลป์ เป็นจุดนัดพบสอนทำWorkshop ต่างๆ ด้วยกิจกรรม”นุ่งโจง รำเต้น ปั้นวาด” กับ “เขียนโขน วาดไทย ปิดทอง รดน้ำ ปั้นแต่งโอ่งทรงเครื่องสมัยโบราณ” และจัดอาหารหรืออาหารว่าง จากนั้นร่วมกิจกรรมนุ่งโจงเที่ยวรอบเกาะเกร็ด

ส่วนบนบ้าน

ด้วยความตั้งใจสร้างงานศิลป์ ด้วยการเล่าเรื่อง “เมืองพระราม” เป็นผลิตภัณฑ์ทุนทางวัฒนธรรม ที่มี วานรนาม “สุรเสน” คอยต้อนรับ ทางขึ้น เพื่อชวนมาชมสินค้างานฝีมือดั้งเดิม ประเภท “หัวโขน”ที่จดบันทึกเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดนนทบุรี ปี ๒๕๖๐ เพื่ออนุรักษ์ และสร้างคุณค่างานไทย ที่มีความประณีต ทรงคุณค่า น่าสะสม เพราะที่นี่ “บ้านศิลป์สยาม” ผลิตและจัดหน่ายเอง ด้วยงานช่างฝีมือในวัง และเป็นกิจกรรมร่วมกับเยาวชนในการสร้างงานให้เกิดรายได้เสริมในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพราะ “บ้านศิลป์สยาม” มีอะไรดีๆ อีกมากมาย ต้องมาที่นี่ “เกาะเกร็ด” งานหัตถศิลป์ ด้วยมนต์เสน่ห์ และกลิ่นอายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา วิถีชีวิตคนไทย เชื้อสายมอญ กับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงวัฒนธรรม เพื่อเล่าขานงานศิลป์แผ่นดินต่อไป